WHO ประกาศฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง” ระบาดหนักบางส่วนของแอฟริกา “เด็กป่วย-ดับอื้อ”

Author:

WHO ประกาศฉุกเฉิน – วันที่ 15 ส.ค. บีบีซี รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลัง “โรคฝีดาษลิง” หรือ “เอ็มพ็อกซ์” ระบาดต่อเนื่องและแพร่กระจายไปทั่วพื้นที่ตอนกลางและตะวันออกของแอฟริกา ครอบคลุม คองโก บุรุนดี แอฟริกากลาง เคนยา และ รวันดา

WHO ประกาศฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง” ระบาดหนักบางส่วนของแอฟริกา “เด็กป่วย-ดับอื้อ”

Christian Musema, a laboratory nurse, takes a sample from a child declared a suspected case Mpox at the the treatment centre in Munigi, following Mpox cases in Nyiragongo territory near Goma, North Kivu province, Congo. REUTERS

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งแอฟริกา (แอฟริกาซีดีซี) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 มีผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงกว่า 13,800 คน และเสียชีวิตอย่างน้อย 450 ราย นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 68 ของผู้ป่วยทั้งหมดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี และมากถึงร้อยละ 85 ของผู้เสียชีวิตเป็นเด็กในกลุ่มดังกล่าว

ดร.เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวว่าความเสี่ยงที่โรคนี้จะแพร่ระบาดต่อไปในแอฟริกาและที่อื่นๆ นั้น “น่าเป็นห่วงมาก”

พร้อมย้ำว่าการตอบสนองระหว่างประเทศที่ประสานงานกันมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหยุดยั้งการระบาดและช่วยชีวิตผู้คน โรคฝีดาษลิงติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง การพูดคุยหรือหายใจใกล้ชิดกับผู้ป่วยซึ่งมีอาการคล้ายไข้หวัด

WHO ประกาศฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง” ระบาดหนักบางส่วนของแอฟริกา “เด็กป่วย-ดับอื้อ”

WHO ประกาศฉุกเฉิน – This photo supplied by MSF (Doctors Without Borders) dated May 31, 2023, shows health workers educating children on the symptoms of the mpox disease in Goma, Congo. (Augustin Mudiayi/Doctors Without Borders/Médecins Sans Frontières via AP)

ทั้งนี้ ไวรัสเอ็มพ็อกซ์มีด้วยกัน 2 ชนิดหลัก ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (Clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (Clade 2) โดยเมื่อปี 2565 โรคฝีดาษลิงถูกประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขมาแล้ว

และครั้งนั้นเกิดการระบาดหนักจากสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกซึ่งมีความรุนแรงไม่มาก อย่างไรก็ตาม การระบาดในปีนี้เป็นสายพันธุ์แอฟริกากลางที่มีความรุนแรงมากกว่ามาก และมีอัตราการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับการระบาดครั้งก่อน

WHO ประกาศฉุกเฉิน “ฝีดาษลิง” ระบาดหนักบางส่วนของแอฟริกา “เด็กป่วย-ดับอื้อ”

Jean Kakuru Biyambo, 48, a father of six from the Muja internally displaced persons camp, gestures outside his room at the Goma general hospital where he has been receiving treatment against Mpox in Nyiragongo territory, in Goma, North Kivu province, Democratic Republic of the Congo July 16, 2024. REUTERS

WHO ประกาศฉุกเฉิน – Dr. Tresor Wakilongo, verifies the evolution of skin lesions on the ear of Innocent, suffering from Mpox – an infectious disease caused by the monkeypox virus that sparks off a painful rash, enlarged lymph nodes and fever; at the treatment centre in Munigi, following Mpox cases in Nyiragongo territory near Goma, North Kivu province, Democratic Republic of the Congo July 19, 2024. REUTERS/Arlette Bashizi/File Photo

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

จับตา ฝีดาษลิง ระบาดทวีปแอฟริกา พบเด็กป่วยพุ่ง สธ.พร้อมรับมือ ขอคนไทยอย่ากังวล สธ.เตือนพบป่วย ฝีดาษลิง พุ่งหลังสงกรานต์ ส่วนใหญ่พบในกทม. เร่งเฝ้าระวัง แนะเช็กอาการ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *