รู้ก่อนใช้! เปิดโทษ-ประโยชน์ “โซดาไฟ” อันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงผิวไหม้-ตาบอด ต้องใช้อย่างไรให้ปลอดภัย แนะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2567 จากกรณีเหตุสุดสลด 3 แม่ลูกเสียชีวิต ภายในห้องน้ำ เพื่อนสนิทเผย ผู้เสียชีวิตให้ไปซื้อ โซดาไฟ เพื่อมาเทใส่ท่อในห้องน้ำเพราะท่อตัน
เบื้องต้นคาด ทั้ง 3 คน อาจสูดสารโซดาไฟเข้าไปจึงหมดสติร่างกองกันในห้องน้ำ แต่คงต้องรอผลพิสูจน์ของแพทย์อีกครั้งเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต
วันนี้ ข่าวสดออนไลน์ พาทุกท่าน ทำความรู้จัก “โซดาไฟ” เปิดโทษ-ประโยชน์ ต้องใช้อย่างไรให้ปลอดภัย พร้อมแนะนำวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม : สลดรับวันแม่ ร.ต.อ.หญิง-ลูกสาว ดับ 3 ศพ เผยนาทีเจอร่างในห้องน้ำ คาดสาเหตุ
ภาพประกอบ
“โซดาไฟ” คือ อะไร
โซดาไฟ (caustic soda) หรือ โซเดียมไฮดอกไซด์ (Sodium Hydroxide) สูตรทางเคมี คือ NaOH เป็นสารเคมีที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาวในรูปแบบเกล็ด เม็ด แผ่น หรือแท่ง ไม่มีกลิ่น มีฤทธิ์กัดกร่อนมาก
เมื่อสัมผัสกับผิวหนังอาจทำให้เกิดการไหม้อย่างรุนแรง สามารถดูดซับความชื้นจากอากาศได้ดี และเมื่อไปละลายน้ำอาจทำให้เกิดความร้อนได้
ประโยชน์ของ “โซดาไฟ”
หลายคนอาจคุ้นเคยว่าสารดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการทำความสะอาดท่อระบายน้ำ แต่รู้หรือไม่ว่าโซดาไฟยังถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านอุตสาหกรรมด้วย เช่น
อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมสบู่และสารซักล้าง โทษ หรือ อันตราย จาก “โซดาไฟ”
พิษจากโซดาไฟสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากหลายวิธี ทั้งการสัมผัสกับผิวหนัง เข้าสู่ดวงตา สูดดมไอระเหยของสาร หรือรับประทานโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก, ระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณจมูก คอ ระบบทางเดินหายใจ, ลำคอ หรือกล่องเสียงบวมซึ่งอาจนำไปสู่การอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนหรือภาวะขาดอากาศหายใจได้, ปอดอักเสบ หรือมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ผลกระทบต่อผิวหนัง แสบร้อนที่ผิวหนัง, ระคายเคือง, ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง ผลกระทบต่อหู ตา คอ และจมูก ระคายเคืองตา, สูญเสียการมองเห็น, แสบร้อนในจมูก ตา หู ริมฝีปาก หรือลิ้น ผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร อาเจียน อาจมีเลือดปนออกมา, กระเพาะอาหารถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรง, แสบร้อนในลำไส้และกระเพาะอาหาร, ท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
หากรับโซดาไฟเข้าไปในร่างกายในระยะยาวอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเป็นอย่างมากต่อระบบต่าง ๆ รวมทั้งก่อให้เกิดโรคมะเร็งอีกด้วย
ใช้ “โซดาไฟ” อย่างไรให้ปลอดภัย ข้อควรระวัง การรับมือ สวมสิ่งป้องกัน ถุงมือป้องกัน, ชุดป้องกัน, อุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ อุปกรณ์ป้องกันหน้า หลีกเลี่ยงการหายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป ถ้าหายใจเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศ บริสุทธิ์ และให้พักผ่อนในลักษณะที่หายใจได้สะดวก หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนัง ถ้าสัมผัสผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนทั้งหมดออกทันที ล้างด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก ซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารให้สะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา หากเข้าตา ล้างด้วยน้ำเป็นเวลาหลาย ๆ นาที หากใส่คอนแทคเลนส์ ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หากถอดออกได้ง่าย ให้ล้างตาต่อไป 15 นาที และนำตัวส่งแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงการกิน ถ้ากลืนกิน ให้ล้างปาก ห้ามทำให้อาเจียน และนำตัวส่งแพทย์ทันที
สำหรับการจัดเก็บ แนะนำให้จัดเก็บในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี ปิดภาชนะบรรจุให้แน่น จัดเก็บในสถานที่ที่ปิดล็อกได้ ไม่รั่วไหลลงแหล่งธรรมชาติ